[ART&CULTURE#5] SHORT INTERVIEW WITH ONE WAY TO HELL

[ART&CULTURE#5] SHORT INTERVIEW WITH ONE WAY TO HELL

SHORT INTERVIEW WITH ONE WAY TO HELL

ไดโอรามา (Diorama) หรือแบบจำลองสามมิตินั้น เป็นวิธีที่ใช้สร้างฉากจำลองของเหตุการณ์น่าตื่นเต้นในพื้นที่เล็กๆ พวกมันมักใช้แสดงห้วงเวลาในประวัติศาสตร์ ฉากธรรมชาติ หรือสถานการณ์จากเรื่องแต่ง โดยมีพื้นที่สำหรับใส่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมต่างๆ ได้มากมาย ไดโอรามาถูกนำไปใช้ในงานต่างๆ เช่น โมเดลในหนัง และประกอบฉากหนัง, ประกอบฉากในโมเดล, สื่อการเรียนการสอน, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นต้น
ในปัจจุบัน ไดโอรามา นอกจากที่จะนิยมนำไปเป็นสื่อประกอบฉากโมเดลแล้ว ไดโอรามา ยังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักสะสมโมเดล หรือ กลุ่มคนที่ชอบตกแต่งบ้าน หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนทั่วไปที่ชอบงานศิลปะ เพราะนอกจากเราจะได้เห็นสิ่งแวดล้อมข้างถนนที่จำลองขึ้นมาแล้ว ตัวไดโอรามายังสามารถสะท้อนวีถีชีวิตของสังคมไทยในอีกแง่มุมอีกด้วย
วันนี้เราจะมาพูดคุยกับ 'คุณแบงค์ ธนารักษ์' หรือ 'One way to hell' นักประกอบไดโอรามา  กับดีเทลรอยขีดเขียนตามตู้ไฟจำลอง ฟ้อนท์กราฟิตี้ ตามกำแพง ที่เห็นกันบนถนนในปัจจุบัน ถูกย่อส่วนมาไว้ในผลงานไดโอรามา ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปทำความรู้จักกับเขาผ่านบทสัมภาษณ์ครั้งนี้กันครับ 

 

แนะนำตัวสั้นๆให้เรารู้จักหน่อยครับ

สวัสดีครับ ผมชื่อ แบงค์ ครับ

 

 

ชื่อนามแฝง (AKA) ONE WAY TO HELL มีที่มา มาจากอะไรครับ?

จริงๆ ไม่มีความหมายอะไรเลยครับ แค่ชอบคำนี้เฉยๆ

 

จุดเริ่มต้นในการทำงาน ‘Diorama’ ของคุณ เกิดจากอะไร? รวมถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณอยากสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ 

เกิดจากเราเห็นสิ่งปลูกสร้างตามที่ต่างๆ ตามกำแพงข้างทาง ตามที่รกร้าง ที่มีการพ่นสี คำต่างๆ พ่นฟ้อนท์กราฟิตี้ ต่างๆ เราเห็นแล้วเราชอบ เราเลยเริ่มทำงานแรกเป็นฉากกำแพงเล็ก พอได้ทำออกมาเรารู้สึกสนุกก็เลยทำเป็นจริงเป็นจังเลยครับ

 

 

 

มีศิลปินท่านไหนที่คุณชื่นชอบบ้างไหมครับ? ในสายงานของ Diorama

ก็จะมี 2 ท่านครับ เป็นชาวต่างชาติ คนแรก Joshua smith แล้วก็ rawls.oner ครับ

 

 

ความยากง่ายในการทำ Diorama มีตรงไหนบ้างครับ

ส่วนที่ยากมีหลายส่วนเลยครับ แต่ที่ยากที่สุดน่าจะเป็นการตัดชิ้นเล็กๆ กับติดกาวชิ้นส่วนเล็กๆครับ

 

 มี Diorama ชิ้นไหนที่ชอบทำเป็นพิเศษไหมครับ เพราะอะไรครับ?

ฉากกำแพงครับ พวกกำแพงปูน กำแพงสังกะสี มันมีอะไรให้ทำในตัวงานหลายอย่างครับ เราสามารถคิดอะไรใส่ไปได้เยอะ เช่น รูปแบบกำแพง,รอยแตก, ตัวอักษร Graffiti คำต่างๆ ,สีกำแพง,ลายกำแพง ทำแล้วสนุกครับ

 

  

จะเห็นได้ว่าคุณเริ่มมีผลงานที่ทำร่วมกับแบรนด์และร้านเสื้อผ้าทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงเร็วๆนี้ทางเรา Unfound Projects ก็กำลังจะมีโปรเจคร่วมกัน บอกให้เราทราบได้ไหมครับว่า อะไรที่ทำให้พวกเขาสนใจในผลงานในตัวคุณ คุณคิดเห็นว่าอย่างไร?

อืมมม ที่เขาให้ความสนใจผมคิดว่า ผมทำฉากตามข้างทางของถนนในกรุงเทพ ที่เราเห็นประจำในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เช่นตู้ไฟ ตู้ชุมสายโทรศัพท์ กำแพงสังกะสี ป้อมตำรวจ เหมือนหยิบยกบรรยากาศข้างถนนมาย่อส่วน ให้ความรู้สึกแบบไทยๆ สะท้อนถึงความเป็นไทยด้วยซึ่งมันไม่มีในต่างประเทศ แต่จริงๆต่างประเทศก็มีทำกันนะครับ แต่ถ้าแบบฉากสไตล์ไทย ผมก็เป็นอีกตัวเลือกนึงครับ

 

 

เวลาว่างของคุณนอกจากทำงานในส่วนตรงนี้แล้วคุณใช้เวลาไปกับอะไรบ้างครับ?

ส่วนใหญ่จะศึกษาดูงาน diorama เพิ่มเติมตามเว็บไซต์ต่างๆครับ ดูเทคนิคของแต่ละคนบ้างครับ ว่าเค้าใช้เทคนิคอะไรในการทำส่วนนั้นส่วนนี้ ครับ จะได้มาพัฒนาปรับปรุงต่อไปครับ

 

 

แพลนในอนาคตของคุณหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง?

อนาคตคิดไว้ว่า อยากทำฉากขนาดใหญ่ครับ ประมาณว่าจับเมืองๆหนึ่ง มาวางบนโต๊ะเลยครับ แล้วก็คิดอยากจะจัด solo exhibition ด้วยครับ ถ้ามีโอกาส

 

สำหรับสินค้าของ ONE WAY TO HELL มีจำหน่ายแล้วที่ร้านของเราทั้งหน้าร้านและ Online Store สามารถเข้าไปเลือกซื้อสินค้าได้ ที่นี่

ติดตามผลงานของ ONE WAY TO HELL ได้ทาง Instagram : @1way_2hell

 


Older Post Newer Post